Central Technology Retail Lab & AWS – Startup Partnership

AWS and Central Retail Technology opened an Innovation Lab jointly, to allow Startups to propose real life ideas and work with us in short pilot initiatives to pilot them in real business scenarios. The initiative an ways for application can be seen here.

การพัฒนาแรงงานไทย

ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจลดลงจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 5 จนกระทั้งร้อยละ 3 (โดยประมาณ) และปัจจุบันถือเป็นระบบเศรษฐกิจผู้สูงวัยที่สุดในประชาคมอาเซียน (รองจากประเทศรัสเซีย และประเทศจีน โดยจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนาเดียว) อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าหลายๆ บริษัท (แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด) เลือกที่จะใช้แรงงานราคาถูกจากประเทศข้างเคียง แทนที่การพัฒนาแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หรือการลงทุนในบุคลากรหรือระบบการควบคุมอัตโนมัติ (Smart Automation) ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือการบริการของตน ประเด็นข้างเคียงที่เกิดขึ้น คือ เมื่อไม่มีการพัฒนาแรงงาน ย่อมไม่เกิดการเพิ่มฐานเงินเดือนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถชำระคืนหนี้สินเพื่อการบริโภคจำนวนมาก ซึ่งย่อมหมายความว่าการลดหย่อนภาษีเพื่อส่งเสริมการบริโภคไม่สามารถช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ใหม่และให้สิ่งจูงใจต่อบริษัทและผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ เพื่อจัดให้มีการให้ความรู้กับแรงงานของตน ในขณะเดียวกันรัฐบาลควรริเริ่มโครงการเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาแรงงานโรงงานและสำนักงานต่างๆ และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อบริษัทที่จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาแรงงานด้วยตนเอง เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นแม้ในกลุ่มธุรกิจใหม่ อย่างธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ผู้ประกอบการในไทยยังรีรอที่จะลงทุนในเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ประวัติการทำงานหลายฉบับที่ผมได้รับแสดงให้เห็นถึงทักษะทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศจากการทำงานให้กับบริษัทระดับประเทศและระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ทักษะด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็ยังจัดว่าล้าหลังเกินกว่าที่ผมจะจัดให้เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ “ทันสมัย” ไปมากกว่า 3 ปี ผมเห็นว่านี่เป็นหนึ่งในประเด็นสามอันดับแรกที่ควรได้รับการจัดการให้ถูกต้อง! ในการนี้ ผมหวังว่าทุกท่านจะช่วยส่งต่อข้อความนี้ และสร้างแรงกดดันเพื่อให้บริษัทต่างๆ และรัฐบาลดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป วิเคราะห์จากบทความ Bangkok Post เรื่อง Thailand must…

มุมมอง Jack Ma ต่อสหรัฐฯ จีน Alibaba และ Amazon

ย้อนไปดูพาดหัวข่าวการพบปะกันของ Jack Ma และ Donald Trump แล้ว เห็นว่าไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงซักเท่าไร มาดูกันว่า Jak Ma คิดและรู้สึกอย่างไรกับ Donald Trump อะไรที่เขามองว่าเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องบ้างสำหรับการค้าโลก แจ็ค หม่า แนะว่าองค์กรหลายแห่งในสหรัฐฯ สร้างรายได้อย่างมาก หลังจากที่มีการ Outsourcing เกิดขึ้น รวมกันแล้วรายได้นี้ มากกว่ารายได้องค์กรอันดับต้นๆ ของจีนรวมกันเสียอีก อย่างไรก็ตามการให้งบประมาณนั้นเป็นไปอย่างผิดวิธี  เช่น สงครามต่างๆ ใช้เงินจำนวน 14.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนใน Wall Street ทำให้ GFC ถอนการลงทุนเป็นหลัก XX หมื่นล้านดอลลาร์ รวมถึงการจ้างงานที่หายไปอีกประมาณ 30 ล้านคน กลยุทธ์นี้ผิดและจำเป็นต้องมีการทบทวนใหม่ นอกจากนี้เขายังรู้สึกว่า WTO โฟกัสไปที่องค์กรและประเทศใหญ่ๆ และเขากลับสนับสนุนองค์กรอย่าง EWTP องค์กรที่ต้องการสร้างการค้าเสรีดิจิตอล และสนับสนุนบริษัทเล็กๆ แจ็ค หม่าคิดว่า Globalization เป็นเรื่องดีและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็มองเรื่องนี้ในทิศทางเดียวกัน …

รายงานประจำปีต้องรวมตารางคะแนนของ CIO

เป็นเรื่องน่ายินดีที่เมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมงานกับทีมงานที่ยอดเยี่ยม และมีส่วนช่วยพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลงานนี้ได้ปรากฏในรายงานประจำปี 2016 ของ Standard Chartered การนำกลยุทธ์ API ไปใช้อย่างจริงจัง รวมถึงระบบการทำงานของ Hadoop และ Machine Learning ผลักดันให้ธุรกิจพัฒนาได้อย่างมหาศาล (ภูมิใจมากที่ได้ทำงานให้ Hadoop ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา) การทำโครงสร้างองค์กรให้ปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว ช่วยให้ช่องทางต่างๆทำงานได้ดี ทั้ง Regtech และนวัตกรรมที่โดดเด่นโดยรวมในแวดวงเทคโนโลยี ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ผมดีใจที่เห็นอะไรบางอย่างในรายงานประจำปี ที่พอจะเดาได้ว่าจะมีการสานต่องาน รวมถึงขยับขยายในอนาตคต ซึ่งมีไม่กี่งานที่ผมมีเข้าไปมีส่วนตั้งแต่ขั้นตอนริเริ่มจะเป็นแบบนี้  ข่าวดีคือ ขณะที่กำลังอ่านรายงานประจำปีนั้น ผมได้มองข้ามข้อมูลเชิงลึกของเหล่า CIO ทั้งในแง่ของวิสัยทัศน์ มุมมอง ความสำเร็จ และแก่นการดำเนินงานในอนาคต รวมไปถึงงานเชิงเทคนิค ทีมงาน และการลงทุน แล้วอย่างนี้ผู้ถือหุ้นจะประเมินได้อย่างไร ว่าการลงทุนในธนาคารใดๆ นั้นคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าพวกเขาไม่สามารถวัดคุณภาพของเทคโนโลยีได้  เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ภาคส่วนธนาคารเท่านั้น แต่รวมไปถึงโทรคมนาคม หรือการค้าปลีก ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงในปัจจุบัน เมื่อมองธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารต่างชาติในตอนนี้ ธนาคารเหล่านี้ไม่สามารถที่จะปรับตัวกับเทคโนโลยีได้เลยหากไม่มีความช่วยเหลืออย่างหนักจากทีมงานนอกองค์กร…

ความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับ “อาเซียน”

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558  Thomson Reuters เชิญผมไปแสดงความเห็นเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กรที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในงาน “ASEAN Integration Summit 2015” ที่สิงคโปร์  หลังจากผมได้เขียนบทความเรื่องนี้ลงในบล็อก  ผมจึงสรุปประเด็นสำคัญที่ได้ไปพูดคุยในวันนั้นมาแบ่งปันกัน

นักพัฒนาระบบมือดี หาที่ไหน?

ข้อผิดพลาดที่บรรดาธุรกิจเกิดใหม่และบริษัทใหญ่ ๆ มักจะทำเหมือน ๆ กันคือการหานักพัฒนาระบบที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือคนที่เคยทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง  พวกเขาต่างก็ติดกับดักแบรนด์เนม   ไม่ว่าจะบริษัทใหญ่ ๆ หรือมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต่างก็ไม่ได้สร้างขึ้นเพราะความสามารถพิเศษด้านวิศวกรรม แต่เกิดจากความสมหวังตามความมุ่งมาดปรารถนาของตนเอง: “ฉันยิ่งใหญ่ และคนอื่นก็เห็นเช่นเดียวกัน และฉันจะยิ่งใหญ่ได้มากกว่านี้” Google และบริษัทอื่น ๆ ได้พบว่านักพัฒนาระบบที่ดี เป็นเรื่องเดียวกันกับ : • การทำงานเป็นทีม (ฉันไม่กังวลที่จะต้องเปิดเผยโค้ดของฉันให้โลกรู้) • ความเฉลียวฉลาด (ฉันรักการเรียนรู้สิ่งใหม่) และ • การมุ่งหน้าสู่จุดที่สูงขึ้นไปโดยมีทีมชั้น “เลิศ” (ฉันเก่งขึ้นได้เพราะเพื่อนร่วมทีมผลักดัน) ผมคิดว่าคนที่เคยทำงานในโครงการ open source ที่ได้รับความนิยม เคยทำงานในบริษัทที่ปรึกษา / ธุรกิจเกิดใหม่ หรือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต น่าจะเป็นส่วนผสมที่ลงตัวที่สุดสำหรับงานนี้   เพราะคุณจะได้ทั้งความมุ่งมั่น การทำงานเป็นทีม และความมีทักษะ! อักเซล วินเทอร์ (aw@axelwinter.com) ความเห็นส่วนตัว

ประเทศไทยต้องมีประธานผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเร่งรัดกระบวนการแปลงผันข้อมูล

เรียนคณะรัฐบาล  ผมทราบว่ามีหลายฝ่ายกระตือรือล้นที่จะให้คำปรึกษาแก่ท่านในทุก ๆ เรื่องเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่บางครั้งก็ให้ความเห็นที่อาจจะดูแปลก  ผมเองมีโอกาสได้มาทำงานในแถบเอเชียและในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2536  ซึ่งผมจะค่อนข้างระมัดระวัง และทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน จากหลากหลายมุมมอง ก่อนที่จะให้ความเห็น  ภูมิหลังทางอาชีพของผมมุ่งเน้นไปในเรื่องการแปลงผันข้อมูลของบริษัทไทย หน่วยงานราชการ หรือองค์กรที่คล้าย ๆ กันในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ปี 2536 

การปฏิรูปองค์กร และ การแปลงผันข้อมูล

ธุรกิจการให้บริการทางการเงินกำลังเปลี่ยนแปลง และก็ถูกก่อกวนเหมือนที่เกิดขึ้นในธุรกิจอื่นจาก การเกิดขึ้นของ FinTech (บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บริการทางการเงิน) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการการเงินแบบเดิม ๆ เช่น ธนาคาร  ที่มักจะเปลี่ยนแปลงช้า ๆ  แต่ก็กำลังตื่นตัว ลูกค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ระบบการจ่ายเงิน แต่ก็ถูกกีดขวางจากนวัตกรรมสุดโต่ง การค้าขายที่ตลาดมีสภาพคล้ายกับ b2b ในช่วงปี 2000/2001

กลยุทธ์การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอลเป็นตัวกำหนดรูปแบบการทำธุรกิจ

ในที่สุดก็มาถึงเวลาที่องค์กรจะต้องตัดสินใจแล้วว่าจะอยากเป็นอะไร ระหว่างการผลักดันยอดขายโดยปรับแผนการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการเลือกเทคโนโลยี หรือจะ outsource โดยมีเป้าที่จะขาย (หรือมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น) Commodity! นักพัฒนาระบบหรือหรือคนเขียนโปรแกรมในบริษัทที่เกือบจะโดน outsource ไปแล้วโดยสมบูรณ์ ก็เป็นเพียงเทคนิคการตลาดที่ทำให้ดูดีเวลาออกสื่อ แต่นั่นกลับไม่ได้เป็นความสามารถพิเศษที่จะผลักดันให้เกิดสินค้าดิจิตอลได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด เมื่อเราคิดถึงกลยุทธ์และรูปแบบการทำธุรกิจ เราจะพบคำถามใหม่ว่า: แนวทางเข้าสู่ยุคดิจิตอลและเทคโนโลยีคืออะไร?  คำตอบของคำถามนี้จะนำไปสู่กรอบการทำงานของทั้งองค์กร คุณต้องเลือกกรงที่คุณชอบ! เมื่อได้เลือกแนวทางและลงทุนไปกับมันแล้ว การจะเปลี่ยนใจไปอีกทางจะเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองมากทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ผมเคยเห็นองค์กรทั้งเล็กและใหญ่ที่พยายามเปลี่ยนรูปแบบสำคัญในการทำธุรกิจและต้องประสบกับภาวะล้มละลายมาแล้วทั้งในสหรัฐอเมริกา ไทย และสิงคโปร์ เราอยากมีความสามารถในการแข่งขันในระดับไหน เราอยากจะแตกต่างขนาดไหน ต้องลงทุนมากแค่ไหน แล้วมันจะคุ้มหรือ เราพร้อมที่จะทุ่มกำลัง หรือปรับเปลี่ยนมากแค่ไหน สำหรับธุรกิจของเรา การใช้สินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร   รูปแบบธุรกิจ และความสามารถขององค์กรที่จะเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เลือก  ไม่ว่าจะบริษัทแบบเดิม ๆ  หรือบริษัทตั้งใหม่ต่างก็ต้องเผชิญกับทางเลือกในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมักจะเป็นตอนที่ต้องเลือกเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการในระยะสั้น ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากเมื่อถูกกดดันจากสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป  คณะกรรมการบริษัทมักต้องเลือกแนวทางการใช้เทคโนโลยีโดยอิงอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจเดิม ตามแผนภาพด้านบน การจะเปลี่ยนแนวทางการใช้เทคโนโลยีจากแบบหนึ่งไปอีกแบบหนึ่งเป็นเรื่องเสียเวลามาก อาจจะหลาย ๆ ปี และจะมีผลกระทบไปถึงทักษะของคนทำงาน บุคคลากร กระบวนการทำงาน และค่าใช้จ่ายที่จะตามมา เราอยากจะมีระบบดิจิตอลแบบไหนระหว่างแบบที่เหมือน ๆ กับคนอื่น แบบที่คนอื่นก็ซื้อได้เหมือนกัน …