รายงานประจำปีต้องรวมตารางคะแนนของ CIO

เป็นเรื่องน่ายินดีที่เมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมงานกับทีมงานที่ยอดเยี่ยม และมีส่วนช่วยพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลงานนี้ได้ปรากฏในรายงานประจำปี 2016 ของ Standard Chartered

การนำกลยุทธ์ API ไปใช้อย่างจริงจัง รวมถึงระบบการทำงานของ Hadoop และ Machine Learning ผลักดันให้ธุรกิจพัฒนาได้อย่างมหาศาล (ภูมิใจมากที่ได้ทำงานให้ Hadoop ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา) การทำโครงสร้างองค์กรให้ปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว ช่วยให้ช่องทางต่างๆทำงานได้ดี ทั้ง Regtech และนวัตกรรมที่โดดเด่นโดยรวมในแวดวงเทคโนโลยี

ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ผมดีใจที่เห็นอะไรบางอย่างในรายงานประจำปี ที่พอจะเดาได้ว่าจะมีการสานต่องาน รวมถึงขยับขยายในอนาตคต ซึ่งมีไม่กี่งานที่ผมมีเข้าไปมีส่วนตั้งแต่ขั้นตอนริเริ่มจะเป็นแบบนี้ 

ข่าวดีคือ ขณะที่กำลังอ่านรายงานประจำปีนั้น ผมได้มองข้ามข้อมูลเชิงลึกของเหล่า CIO ทั้งในแง่ของวิสัยทัศน์ มุมมอง ความสำเร็จ และแก่นการดำเนินงานในอนาคต รวมไปถึงงานเชิงเทคนิค ทีมงาน และการลงทุน

แล้วอย่างนี้ผู้ถือหุ้นจะประเมินได้อย่างไร ว่าการลงทุนในธนาคารใดๆ นั้นคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าพวกเขาไม่สามารถวัดคุณภาพของเทคโนโลยีได้  เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ภาคส่วนธนาคารเท่านั้น แต่รวมไปถึงโทรคมนาคม หรือการค้าปลีก ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงในปัจจุบัน เมื่อมองธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารต่างชาติในตอนนี้ ธนาคารเหล่านี้ไม่สามารถที่จะปรับตัวกับเทคโนโลยีได้เลยหากไม่มีความช่วยเหลืออย่างหนักจากทีมงานนอกองค์กร ส่วน Standard Charted (เหมือนกับธุรกิจระดับโลกในกลุ่มธนาคารและธรุกิจอื่นๆ ) กำลังสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยี (Technology Organization)ขนาดใหญ่มหึมาขึ้นมา

แล้วพวกเขาทำมันได้อย่างไรหละ มีพนักงานหัวกะทิหรือไม่ เป็นเพราะพัฒนานวัตกรรมออกมาได้อย่างรวดเร็วไหม หรือธนาคารดึงดูดคนที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงาน (สัญญาณของทีมเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม)

นักลงทุนต้องตั้งคำถามเหล่านี้ และองค์กรต่างๆ จำเป็นจะต้องออกมาแบ่งปันข้อมูล แม้แต่ในรายงานการประจำปี ก็ต้องบอกว่าองค์กรมีความพร้อมทั้งเชิงดิจิตอลและเทคนิคอย่างไรบ้าง การวัดความสำเสร็จมีมากกว่าตัวเลขด้านการเงิน องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องลงทุนกับอนาคตขององค์กรและในโลกดิจิตอล

เมื่อดูรายงานประจำปีขององค์กร ผมอยากที่จะเห็นอะไรบ้างนะหรอ

  1. ความผสมผสานของความทันสมัย กับเทคโนโลยีเก่าๆ เป็นตัวช่วยบ่งชี้ความสามารถในการทำงาน
  2. ความสามารถของทรัพยากรเทคโนโลยีจากนอกองค์กร กับทรัพยากรเทคโนโลยีจากในองค์กร สิ่งนี้ยืนยันความสามารถของการเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรม
  3. อัตราการยอมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และส่วนต่างๆในองค์กรที่นำแนวทางใหม่ๆไปใช้ Smart Architecture และการให้อำนาจกับทีมที่จะปรับเปลี่ยนอย่างคล่องตัว สิ่งนี้ทำให้องค์กรสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ออกมาได้อย่างรวดเร็ว
  4. การนำนวัตกรรมไปใช้สร้างเทคโนโลยีและการจับมือกับกลุ่ม Starups สิ่งนี้รวมไปถึงการใช้ Open Source ถ้าองค์กรมีสิ่งเหล่านี้ มันบ่งบอกถึงความชำนาญด้านเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง
  5. ต้นทุนของการตัดสินใจ และไม่ตัดสินใจ (งบที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้งานเดินต่อ กับงบที่จะสร้างโปรเจคใหม่ๆ) สิ่งนี้แสดงถึงคุณภาพของฝ่าย IT และความสามารถที่จะพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ชนิดวันต่อวันเลยก็ว่าได้
  6. ความสำเร็จในการทำองค์กรให้ทันสมัยและการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ได้อย่างไม่ซับซ้อนในแต่ละปี ส่วนนี้วัดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิตอล
  7. แนวทางการลงทุนในอนาคต ทั้งประเภทธุรกิจ เทคโนโลยี และสไตล์การเลือกลงทุน 

ผมหวังว่าองค์กรต่างๆ จะนำหลักการการวัดผลของ CIO หรือ CTO ที่เห็นในรายงานประจำปีไปปรับใช้ และแบ่งปันแนวทางที่พวกเขาลงทุนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้วัดผลการปรับองค์กรไปสู่ยุคดิจิตอลได้ดีขึ้น