การพัฒนาแรงงานไทย

ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจลดลงจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 5 จนกระทั้งร้อยละ 3 (โดยประมาณ) และปัจจุบันถือเป็นระบบเศรษฐกิจผู้สูงวัยที่สุดในประชาคมอาเซียน (รองจากประเทศรัสเซีย และประเทศจีน โดยจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนาเดียว) อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าหลายๆ บริษัท (แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด) เลือกที่จะใช้แรงงานราคาถูกจากประเทศข้างเคียง แทนที่การพัฒนาแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หรือการลงทุนในบุคลากรหรือระบบการควบคุมอัตโนมัติ (Smart Automation) ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือการบริการของตน ประเด็นข้างเคียงที่เกิดขึ้น คือ เมื่อไม่มีการพัฒนาแรงงาน ย่อมไม่เกิดการเพิ่มฐานเงินเดือนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถชำระคืนหนี้สินเพื่อการบริโภคจำนวนมาก ซึ่งย่อมหมายความว่าการลดหย่อนภาษีเพื่อส่งเสริมการบริโภคไม่สามารถช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศได้

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ใหม่และให้สิ่งจูงใจต่อบริษัทและผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ เพื่อจัดให้มีการให้ความรู้กับแรงงานของตน ในขณะเดียวกันรัฐบาลควรริเริ่มโครงการเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาแรงงานโรงงานและสำนักงานต่างๆ และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อบริษัทที่จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาแรงงานด้วยตนเอง

เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นแม้ในกลุ่มธุรกิจใหม่ อย่างธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ผู้ประกอบการในไทยยังรีรอที่จะลงทุนในเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ประวัติการทำงานหลายฉบับที่ผมได้รับแสดงให้เห็นถึงทักษะทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศจากการทำงานให้กับบริษัทระดับประเทศและระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ทักษะด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็ยังจัดว่าล้าหลังเกินกว่าที่ผมจะจัดให้เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ “ทันสมัย” ไปมากกว่า 3 ปี

ผมเห็นว่านี่เป็นหนึ่งในประเด็นสามอันดับแรกที่ควรได้รับการจัดการให้ถูกต้อง! ในการนี้ ผมหวังว่าทุกท่านจะช่วยส่งต่อข้อความนี้ และสร้างแรงกดดันเพื่อให้บริษัทต่างๆ และรัฐบาลดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป

วิเคราะห์จากบทความ Bangkok Post เรื่อง Thailand must invest in its workers