ความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับ “อาเซียน”

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558  Thomson Reuters เชิญผมไปแสดงความเห็นเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กรที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในงาน “ASEAN Integration Summit 2015” ที่สิงคโปร์  หลังจากผมได้เขียนบทความเรื่องนี้ลงในบล็อก  ผมจึงสรุปประเด็นสำคัญที่ได้ไปพูดคุยในวันนั้นมาแบ่งปันกัน

ความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับ “อาเซียน”

  • “อาเซียน” ต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “อาเซียน” อย่างเพียงพอ  ผมคิดถึง คอนราด อเดนาวร์ และชาร์ลส์ เดอโกลล์ ที่ได้ช่วยกันหล่อหลอมให้เกิดสันติภาพและความเจริญงอกงามในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  คำถามก็คือ ต่อจากนี้ “อาเซียน” และ AEC จะเติบโตไปทางไหน
  • ความล่าช้าในการเปิดเสรีทางการค้า ตามกรอบของ AEC และความร่วมมือทางการค้าอื่นๆ
  • การเปิดตัวของธุรกิจดิจิตอลใหม่ๆ ที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก เช่น UBER และ GrabTaxi ทำให้เห็นว่ามีตลาดสำหรับบริการประเภทนี้ และผู้ให้บริการใน “อาเซียน” หรืออาจจะทั่วโลก ยังตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ไม่ดีพอ 
  • เมื่อตลาดมีการเปิดเสรี ผู้ประกอบการในท้องถิ่นควรต้องปรับตัว อาจจะด้วยการขยายกิจการหรือไม่ก็ต้องพัฒนาตัวเองให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจของตน 
  • สำหรับบางธุรกิจ บริษัทข้ามชาติที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลกก็อาจจะเข้าตลาดและแข่งขันกับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ง่ายขึ้น   
  • การรวมกิจการเป็นหนทางเพื่อขยายธุรกิจ และจะทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น 
  • จะเกิดผู้ (คิดว่า) เชี่ยวชาญ ในเรื่องประชาคมอาเซียน การรวมตัวกันในอาเซียน และการปฏิรูปองค์กร (Corporate Transformation)

ความท้าทายทางธุรกิจเพื่อการรวมตัวกันของอาเซียน 

  • บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในอาเซียน มักจะขยายธุรกิจในแนวนอนหรือนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ ในตลาดเดิมมากกว่าจะขยายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะรู้สึกว่าเป็นตลาดที่ควบคุมได้
  • การรวมตัวกันในอาเซียนและเอเชียแปซิฟิคจะทำให้เกิดการแข่งขัน  และทำให้บริษัทต้องขยายออกไปเป็นกิจการระดับภูมิภาค
  • การขยายกิจการออกไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันเช่น ธนาคาร หรือธุรกิจโทรคมนาคม ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทั้งในการบริหารงานและเทคโนโลยี
  • ต้นทุนในการเข้าสู่ธุรกิจระดับภูมิภาคอาจจะต่างกันในแต่ละธุรกิจ แต่ทั้งหมดยังคงอยู่ในระดับสูง :
  • กฎระเบียบเกี่ยวกับการตั้งบริษัทและคุณสมบัติของผู้ถือหุ้น
  • กฎระเบียบเกี่ยวกับการขอวีซ่า และกฎหมายแรงงาน
  • บริษัทใหญ่ ๆ มักจะทำงานได้ง่ายกว่า
  • ข้อจำกัดเรื่องภาษา ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอังกฤษ!  ทำไมเราถึงไม่มีสถาบันภาษาอาเซียนอย่างสถาบันเกอเธ่ ของเยอรมัน หรืออาลิออง ฟรองเซ่ ของฝรั่งเศส  อาจจะเป็นสถาบันภาษาไทย หรืออินโดนีเซีย เพื่อให้ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมไปทั่วภูมิภาค 

การประเมินความพร้อมขององค์กร    

  • ด้านการบริหารธุรกิจ
  • การปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างมีเป้าหมายและต่อเนื่อง
  • การวัดผลทางธุรกิจที่ดีขึ้น   
  • การทำงานบนฐานข้อมูล และมีความยืดหยุ่น
  • ด้านเทคโนโลยี และการเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิตอล   
  • เน้นการ outsource แต่ไม่ใช่เพื่อการสร้างนวัตกรรม 
  • มีนวัตกรรม และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
      • ใช้ซอฟต์แวร์ฟรี หรือโอเพนซอร์ซ เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม 
  • ด้านทรัพยากรบุคคล   
  • การพัฒนาบุคคลากร
      • การทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI)
  • การให้ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ซึ่งปัจจุบันยังมีช่องว่างอีกมาก
  • การรวมกันของอาเซียนกับภูมิภาคอื่นๆ 
  • ด้านโครงสร้างระดับภูมิภาค และระดับโลก   

–ความเห็นส่วนตัว–

Opinions are my own.

aw@axelwinter.comwww.axelwinter.com