ประเทศไทยต้องมีประธานผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเร่งรัดกระบวนการแปลงผันข้อมูล

เรียนคณะรัฐบาล 

ผมทราบว่ามีหลายฝ่ายกระตือรือล้นที่จะให้คำปรึกษาแก่ท่านในทุก ๆ เรื่องเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่บางครั้งก็ให้ความเห็นที่อาจจะดูแปลก  ผมเองมีโอกาสได้มาทำงานในแถบเอเชียและในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2536  ซึ่งผมจะค่อนข้างระมัดระวัง และทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน จากหลากหลายมุมมอง ก่อนที่จะให้ความเห็น  ภูมิหลังทางอาชีพของผมมุ่งเน้นไปในเรื่องการแปลงผันข้อมูลของบริษัทไทย หน่วยงานราชการ หรือองค์กรที่คล้าย ๆ กันในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ปี 2536 

เมื่อครั้งที่ผมเริ่มมาที่ประเทศไทย ผมและทีมงานได้ช่วยกันเร่งรัดการติดตั้งและการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ลาว เมียนมาร์ และอินโดนีเซีย และหลังจากนั้นก็ยังได้สนับสนุนอีกหลายองค์กรในอันที่จะผลักดันการใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น การทำงานที่เป็นอัตโนมัติ และยังมีอีกหลายภารกิจมาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไร้สายได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การที่ธุรกิจของคุณจะตั้งอยู่ใน ซิลิคอน วัลเลย์ (โดยมีพนักงานเป็นชาวต่างชาติอยู่ราว 45%) หรือจาการ์ตา เบอร์ลิน หรือกรุงเทพฯ  จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป สิ่งที่แตกต่างคือ สิ่งที่อยู่ภายในบริษัทหรือองค์กรนั้น และการที่บริษัทหรือองค์กรเหล่านั้นจะขับเคลื่อน หรือเร่งการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  ผมได้เห็นตัวอย่างในประเทศไทยทั้งที่ดีเยี่ยมระดับโลก และสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม  ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่ดีมาก ๆ นั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในกรุงเทพฯ  อย่างเช่น อโกดา ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นที่ภูเก็ต 

ถึงกระนั้น รัฐบาลนี้ก็ยังมีความรับผิดชอบมากกว่ายุคใด ๆ ที่จะทำให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึง Digital economy หรือเศรษฐกิจที่อาศัย IT เป็นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง   ค่าประมูลคลื่น 4G ที่สูงมาก อาจจะจำกัดพื้นที่การเข้าถึง และคุณภาพของการให้บริการบรอดแบนด์ 4G ทั่วประเทศ  และเรายังไม่ได้พูดถึงการใช้งานบรอดแบนด์ผ่านสายไฟเบอร์ไปยังเสาส่งสัญญาน เมืองต่าง ๆ และบ้านของผู้ใช้งานทั่วประเทศ  แม้กระทั่งในเยอรมนี ยังต้องมีการตรากฎหมายพิเศษเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการสื่อสารบรอดแบนด์ให้บริการทั่วประเทศภายในปี 2563  และให้แน่ใจว่าประชาชนในที่ห่างไกล ในชนบททั่วประเทศจะได้รับบริการนี้อย่างทั่วถึง

หลายสัปดาห์ก่อนผมได้เดินทางไปที่จังหวัดน่าน โดยคำเชิญจากองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ และได้เห็นคนในหมู่บ้านติดต่อกับคนในเมืองผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งในเรื่องเล่นและเรื่องการทำงาน  สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ควรจะเกิดขึ้น แต่จะต้องมีมากกว่านี้ครับ 

การแปลงผันข้อมูล หรือ Digitization จะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และฝ่ายนวัตกรรม  ทุกวันนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ ที่ต้องให้ผู้ค้าและที่ปรึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อผลักดันโลกเทคโนโลยีได้ลดลงอย่างมาก  ตัวองค์กรเองจะเพิ่มความเป็นเจ้าของในงานนั้น ๆ ด้วยการทำงานกับระบบพัฒนาแบบเปิด (Open Source developments) ซึ่งไม่ต้องเสียค่าบริการ  หรือองค์กรที่ก่อตั้งใหม่ (Startups) หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีและ Cloud 

สิ่งนี้จะต้องสะท้อนอยู่ในการจัดการเทคโนโลยีของรัฐบาล และวาระแห่งชาติที่รัฐบาลจะกำหนดขึ้น

คำถามที่ต้องการคำตอบ ได้แก่

  • จะสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงบริการดิจิตอลทั่วประเทศอย่างไร?
  • จะจัดระบบการศึกษาทุกรูปแบบ ทุกระดับชั้นให้เข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างไร?
  • การพัฒนาทางการศึกษา และการพัฒนาด้านดิจิตอลของชาติอยู่ที่ระดับใด?
  • เงื่อนไขการให้ความสนับสนุนแก่ผู้ให้บริการโครงข่าย ในการขยายบริการเครือข่ายความเร็วสูง คุณภาพดี ในราคาค่อนข้างต่ำ ควรเป็นอย่างไร?
  • จะเตรียมแรงงานให้พร้อมรับมือกับการขยายตัวของเทคโนโลยีดิจิตอล และหุ่นยนต์อย่างไร  ซึ่งนี่ก็จะเป็นแนวทางป้องกันปัญหาการว่างงานด้วย   

ดังนั้น รัฐบาลจึงอาจจะพิจารณาแนวทางดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 

  • การให้บริการสาธารณูปโภคดิจิตอลที่ดีขึ้น ได้แก่ โครงข่าย บริการบรอดแบนด์ถึงบ้าน การให้อุปกรณ์แก่ผู้ยากไร้ เป็นต้น 
  • การพัฒนาการศึกษา ต้องเพิ่มแรงงานที่มีทักษะล้ำหน้าทันการ automation และการทำงานด้วยหุ่นยนต์ (หรืออาจจะเรียกว่าแรงงานที่มีความรู้)
  • รัฐบาลดิจิตอล ซึ่งจะกระตุ้นให้ประชาชนและองค์กรธุรกิจมีปฏิสัมพันธ์ตามกันไปด้วย เช่นการ ทำรายการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งจะช่วยลดค่าบริหารจัดการอีกหลายกรณี 
  • ผู้นำการแปลงผันข้อมูลทั่วประเทศ เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนา การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ไปใช้ การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน

สำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างเช่นสิงคโปร์ ก็แน่นอนที่เราอาจจะเรียกประชุมรัฐบาล แล้วผลักดันให้มีการตัดสินใจไปจนเสร็จสิ้นในวันเดียว แต่ด้วยความจริงแล้ว ผมไม่อยากให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีจะต้องมาทำเรื่องรายละเอียดเช่นนี้ (เหมือนอย่างนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์)  ผมอยากให้ท่านบริหารประเทศ และหวังว่าท่านจะกำลังยุ่งอยู่กับเรื่องนั้น  และผมก็ไม่ต้องการให้ผู้จัดการฝ่าย หรือข้าราชการมาเป็นคนตัดสินชะตากรรมของเทคโนโลยี 

ควรจะต้องมีใครบางคน จากนอกระบบเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา หรือการบริหารงานแบบเดิม ๆ มาเป็นผู้นำของนโยบายเกี่ยวกับระบบดิจิตอล และยุทธศาสตร์ในการพัฒนา  คนผู้นั้นควรจะต้องกระตือรือล้นในเรื่องเกี่ยวกันเทคโนโลยี  มีประสบการณ์เฉพาะตัว และเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว 

ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นรัฐใหญ่ ได้เคยใช้หลักการเช่นนี้มาแล้ว เช่นเดียวกับในเยอรมนี และประเทศอื่น ๆ  กล่าวคือ จะต้องใช้คนที่ไม่ยุ่งอยู่กับการบริหารรัฐบาล 

ประเทศของเราควรจะต้องแต่งตั้ง ประธานผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ CTO

หน้าที่ของ CTO ในมุมมองของผม คือ

  1. ให้ความเห็นแก่คณะรัฐมนตรี ในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  2. จัดทำนโยบายเทคโนโลยีแห่งชาติ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ทำนโยบายด้านอื่น ๆ เช่น การศึกษา การคมนาคม และการสื่อสาร เป็นต้น 
  3. ระบุกลยุทธ์ และแนวทางเกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้แก่หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ 
  4. ผลักดันการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับประเทศ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และองค์กรธุกิจในประเทศ และระดับโลก
  5. เป็นผู้นำในการเริ่มต้น และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล
  6. ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของเทคโนโลยี และแนวทางปฏิบัติ รวมไปถึงการนำเอาระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเปิดซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายมาใช้งานในประเทศ 

ซึ่งภารกิจทั้งหมดนี้จะต้องปราศจากความเกี่ยวโยงกับผู้ค้าและที่ปรึกษาในธุรกิจไอที  ไม่ใช่ตัดเขาออกจากวงจร เพราะคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ  แต่เพราะเขาอาจจะทำให้บทบาทในเชิงกลยุทธ์บิดเบือนไปได้

หน้าที่นี้ จะเป็นเหมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพราะเป็นบทบาทที่สำคัญที่จะเสริมให้เกิดการพัฒนาในการนำเอาระบบดิจิตอลมาใช้งานทั่วประเทศ  เป็นสิ่งที่ต้องย้ำทั้งในด้านบทบาทและตัวบุคคล  สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก 

จากพื้นฐานว่า CTO แห่งชาติจะมีบทบาทอย่างไร ผมเห็นว่าตัวชี้วัดควรจะเป็นดังนี้ 

  • จำนวนของธุรกิจเทคโนโลยีเกิดใหม่ และศูนย์ดิจิตอลนอกเขตกรุงเทพฯ
  • จำนวนหลักสูตรทางเทคโนโลยีในระบบการศึกษาทั่วประเทศ
  • จำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิงถึงในสื่อมวลชนระดับโลก
  • จำนวนของผู้พัฒนาโปรแกรมในระบบ Open source 
  • กระบวนการแปลงผันไปสู่ระบบดิจิตอลของหน่วยงานราชการ ไปสู่ประชาชนและองค์กรธุรกิจ
  • จำนวนนวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนา ที่เกิดโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 

มิติของการทำงานในตำแหน่งนี้ยังสามารถอภิปรายต่อไปได้อีกมาก และผมก็คิดว่า CTO คนแรก ที่จะได้รับการแต่งตั้ง จะเป็นผู้จัดทำกรอบที่ชัดเจนและทำตามหน้าที่ให้บรรลุผล  อย่างไรก็ดี ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องนี้จะเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับประเทศไทย 

ด้วยความเคารพ 

อักเซล  วินเทอร์ 

(ความเห็นส่วนตัว)