กลยุทธ์การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอลเป็นตัวกำหนดรูปแบบการทำธุรกิจ

ในที่สุดก็มาถึงเวลาที่องค์กรจะต้องตัดสินใจแล้วว่าจะอยากเป็นอะไร ระหว่างการผลักดันยอดขายโดยปรับแผนการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการเลือกเทคโนโลยี หรือจะ outsource โดยมีเป้าที่จะขาย (หรือมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น) Commodity!

CorporateDigital 2.001

นักพัฒนาระบบหรือหรือคนเขียนโปรแกรมในบริษัทที่เกือบจะโดน outsource ไปแล้วโดยสมบูรณ์ ก็เป็นเพียงเทคนิคการตลาดที่ทำให้ดูดีเวลาออกสื่อ แต่นั่นกลับไม่ได้เป็นความสามารถพิเศษที่จะผลักดันให้เกิดสินค้าดิจิตอลได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด

เมื่อเราคิดถึงกลยุทธ์และรูปแบบการทำธุรกิจ เราจะพบคำถามใหม่ว่า:
แนวทางเข้าสู่ยุคดิจิตอลและเทคโนโลยีคืออะไร? 

คำตอบของคำถามนี้จะนำไปสู่กรอบการทำงานของทั้งองค์กร
คุณต้องเลือกกรงที่คุณชอบ!

เมื่อได้เลือกแนวทางและลงทุนไปกับมันแล้ว การจะเปลี่ยนใจไปอีกทางจะเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองมากทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ผมเคยเห็นองค์กรทั้งเล็กและใหญ่ที่พยายามเปลี่ยนรูปแบบสำคัญในการทำธุรกิจและต้องประสบกับภาวะล้มละลายมาแล้วทั้งในสหรัฐอเมริกา ไทย และสิงคโปร์

เราอยากมีความสามารถในการแข่งขันในระดับไหน
เราอยากจะแตกต่างขนาดไหน
ต้องลงทุนมากแค่ไหน แล้วมันจะคุ้มหรือ
เราพร้อมที่จะทุ่มกำลัง หรือปรับเปลี่ยนมากแค่ไหน
สำหรับธุรกิจของเรา การใช้สินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร  

รูปแบบธุรกิจ และความสามารถขององค์กรที่จะเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เลือก 

CorporateDigital 2.002

ไม่ว่าจะบริษัทแบบเดิม ๆ  หรือบริษัทตั้งใหม่ต่างก็ต้องเผชิญกับทางเลือกในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมักจะเป็นตอนที่ต้องเลือกเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการในระยะสั้น ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากเมื่อถูกกดดันจากสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป  คณะกรรมการบริษัทมักต้องเลือกแนวทางการใช้เทคโนโลยีโดยอิงอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจเดิม

ตามแผนภาพด้านบน การจะเปลี่ยนแนวทางการใช้เทคโนโลยีจากแบบหนึ่งไปอีกแบบหนึ่งเป็นเรื่องเสียเวลามาก อาจจะหลาย ๆ ปี และจะมีผลกระทบไปถึงทักษะของคนทำงาน บุคคลากร กระบวนการทำงาน และค่าใช้จ่ายที่จะตามมา

เราอยากจะมีระบบดิจิตอลแบบไหนระหว่างแบบที่เหมือน ๆ กับคนอื่น แบบที่คนอื่นก็ซื้อได้เหมือนกัน  กับแบบที่มีสมรรถนะพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่มีใครเหมือน?

คำตอบจะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าอยากจะมีความแตกต่างระดับไหน ซึ่งก็จะมีเรื่องของระดับการพึ่งพาที่จะตามมาด้วย  ถ้าเราเลือกใช้อุปกรณ์และบริการแบบยกชุด ก็ต้องใช้ระบบที่ต้องอาศัยคนอื่นมาก แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความยืดหยุ่น ต้นทุน และเวลาที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในตลาด นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องพึ่งพาคนนอก อาทิเช่น การหาหรือบริหารจัดการคนเก่ง การคิดวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การจัดหาพื้นที่สำนักงาน เป็นต้น  ซึ่งตามปกติองค์กรก็มักจะทำกรอบของเทคโนโลยี และแบ่งคำถามนี้ออกไปให้ส่วนงานต่าง ๆ ให้ช่วยกันตัดสินใจว่าจะตอบคำถามนี้อย่างไร!

In-house
Google กับ Facebook เลือกสร้างเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง ซึ่งก็ผสานกับระบบปฏิบัติการ (Operating System)  Administrative Layer และ Application Layer ได้อย่างสมบูรณ์โดยอาศัยคนเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมาก เขายังเปิดให้มี Open source และ free software ในจุดที่จะช่วยเสริมธุรกิจได้ เช่นเรื่องระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้มีชุมชนออนไลน์ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐาน และเสริมคุณภาพการให้บริการที่เป็นลักษณะ commodity ได้ดีขึ้น

แนวทางแบบนี้ต้องมีการพัฒนาทักษะการทำงานภายในองค์กรอย่างมาก อาศัยการลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และต้องมีความเข้าใจว่าจะนำเสนออย่างไร วิธีนี้ใช้เวลาน้อย และทีมก็มีขนาดเล็ก ในขณะที่แต่ละคนก็ต้องรับงานที่ลึกมาก

กลุ่มที่พัฒนาเองน้อย และใช้บริการจาก Vendor น้อย 

คนกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีบ้างหรือเปล่า? มีแต่พวกธนาคารหรือเปล่า? ลองคิดถึงเทคโนโลยีที่คุณกำลังใช้!

คิดถึงมอเตอร์ไซค์รับจ้างตามซอยที่อาจจะไม่เคยฝันถึงสมาร์ทโฟน แต่ตอนนี้เขามีกันแล้ว ไม่แต่เท่านั้นเขายังใช้สมาร์ทโฟนมาช่วยจัดการงานของตัวเองให้ไปบริการได้ทั่วเมืองด้วย สำหรับพวกเขาแล้วนี่คือกำไร

เทคโนโลยี คือกุญแจของทุกคน

Outsourced
กลุ่มนี้จะ outsource งาน data center และงานบางกลุ่มออกไปอย่างเบ็ดเสร็จ อย่างเช่น ด้านบริหารงานบุคคล การเงิน การทำงานร่วมกันแบบ collaborate  ระบบ Email  ระบบ ERP หรืออาจจะมีแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจอื่นๆ เช่น บัตรเครดิต OSS หรือ BSS ในกรอบที่ผู้ขายสามารถจะปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับรูปแบบการทำธุรกิจที่มีอยู่ได้

เห็นได้ชัดว่าความรับผิดชอบส่วนใหญ่ในการทำงาน เวลา และคุณภาพงาน จะเป็นของผู้ให้บริการที่บริษัทเลือกใช้  อย่างไรก็ตาม บริษัทก็จะต้องรับสืบทอดคุณสมบัติของบริการที่ผู้ขายส่งมอบให้  ค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ และความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการใช้งานก็จะอยู่ในกรอบที่บริษัทใช้ตัดสินใจเลือก อย่างเช่น AWS ที่สามารถเพิ่ม features การทำงานเข้าไปใน cloud platform ได้หลาย ๆ อย่างเป็นประจำทุกสัปดาห์

ภูมิทัศน์ของฝั่งผู้ขายก็เปลี่ยนไปเช่นกัน 

นวัตกรรมมักจะเกิดในกลุ่มที่เป็น open source และชุมชนออนไลน์ ผู้ค้าก็ถูกผลักดันให้ต้องนำเสนอบริการ ส่วนกลุ่มที่ปรึกษาก็มักจะต้องเพิ่มความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าด้วย สำหรับกลุ่มที่ยังต้องซื้อเทคโนโลยีก็มักจะเลือกบริการที่เป็นโภคภัณฑ์ (Commodity) ส่วนกลุ่มที่เป็น Open source ก็เป็นที่นิยมในกลุ่มที่ใช้งานซับซ้อน มีทักษะสูง หรือในกลุ่มสินค้าที่เป็น vertical products

ทั้งลูกค้า และผู้ขายต่างก็เผชิญความท้าทายอย่างเดียวกันในการที่จะพัฒนาทักษะ คนส่วนใหญ่ก็มักจะใช้ทักษะแบบพื้นฐาน  ส่วนทักษะระดับสูงก็มักจะทำงานประสานกับคนอื่นได้ยาก  การจะจัดการและส่งมอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ Outsource หรือบริการจากบุคคลภายนอกเป็นเรื่องท้าทายพอ ๆ กับการจะพัฒนาเองในองค์กร  และนี่ก็เป็นเพียงความแตกต่างในรูปแบบการทำธุรกิจ

คนที่ทำงานด้านเทคโนโลยีในองค์กรแบบเดิมมักจะชินกับการซื้อ แต่ในบริษัทตั้งใหม่ก็มักจะเลือกใช้แบบที่สั่งตัดได้กันมากขึ้น

CorporateDigital 2.003

ผมเคยเห็นทั้งองค์กรแบบเดิม ๆ และบริษัทตั้งใหม่ที่มีแพลตฟอร์มที่ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด และก็ได้เห็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ซื้อระบบมา จ่ายเงินไปมหาศาล แต่ได้งานแบบไม่ได้มาตรฐานจากผู้ขาย ทั้งในระบบง่าย ๆ และระบบที่ต้องใช้เวลาทำงานข้ามปี

Cloud vendors สามารถจะทำลายความเชื่อเดิม ๆ เช่นนี้ เพราะในขณะที่เขาให้บริการสินค้าในแบบ commodity คือให้บริการทุกคนเหมือน ๆ กัน ก็ยังเพิ่มขีดความสามารถและคุณภาพของบริการได้ด้วย ซึ่งนี่ก็เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ซื้อที่จะลองพิจารณาเลือกใช้บริการแบบนี้

–ความเห็นส่วนตัว–